Chapters
Art

วิธีวาดรูปด้วยสีญี่ปุ่น Part 5

~ ขั้นตอนการโมะชะ ~

สวัสดีค่ะ หมีหมอกค่ะ

giphy

กลับมาอีกแล้วกับเอนทรี่สีญี่ปุ่น ครั้งนี้เราก็มาถึงเอนทรี่ที่ 5 กันแล้ว!! และวันนี้เรามาแปลกออกไป เนื้อหาจะไม่ใช่การวาดรูปปกติ แต่เป็นการ ‘โมะชะ’ งานค่ะ

ไปอ่านกันเลย~


โมะชะคืออะไร?

โมะชะ (模写) ก็คือ การวาดรูปตามผลงานที่มีอยู่แล้ว ส่วนใหญ่เพื่อการศึกษา หรือพูดง่าย ๆ คือลอกงานเพื่อการศึกษานั่นเองค่ะ (ห้ามแอบอ้างนะ)

เวลาวาดตามก็คือวาดให้เหมือนทุกระเบียดนิ้ว ให้หน้าตาเหมือนต้นฉบับจริงไปเลย วิธีนี้จะทำให้เราได้ศึกษาเทคนิคการวาดต่าง ๆ ที่ถูกใช้ในภาพ และนำไปประยุกต์กับงานของตัวเองได้ในภายภาคหน้าค่ะ

giphy

สมัยม.ปลายก็เคยทำเหมือนกัน แต่ตอนนั้นเป็นการโมะชะการ์ตูนญี่ปุ่น ตอนนั้นกางสมุดไปวาดรูปตามไป มองสลับไปมาเป็นว่าเล่น เป็นงานที่ค่อนข้างยากเลยค่ะ แต่ก็ได้ศึกษาวิธีวาดตัวละคร วาดฉาก ตีเส้นสปีด

แต่คราวนี้โมะชะงานภาพวาดญี่ปุ่นสมัยก่อนแทน! แล้ววิธีทำก็ไม่ใช่แค่มองแล้ววาดตาม แต่ขั้นตอนค่อนข้างเยอะเลย มีวิธีและขั้นตอนเป็นเรื่องเป็นราวมาก

เอาล่ะ ภาพที่เราจะลอกคือภาพนี้!

mosha0

ผลงานรูปพัดในสมัยก่อนแบบนี้เรียกว่า ‘เซ็นเม็งโคะชะเคียว’ (扇面古写経)

ในผลงานต้นฉบับจริงนั้น จะมีตัวหนังสือเขียนยึกยือทับภาพเต็มไปหมด (ประมาณนี้) ซึ่งงานที่เรานำมาลอกนั้นเป็นงานที่อาจารย์ศิลปินสมัยก่อนลอกต้นฉบับมาอีกทีแต่นำตัวหนังสือออกค่ะ สรุปแล้วคือลอกในลอกนั่นเอง

◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆


อุปกรณ์ในการโมะชะ

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมได้แก่

  • ต้นแบบที่จะลอกงาน
  • กระดาษสำหรับวาด
  • ม้วนกระดาษหรือแท่งพลาสติก
  • เทปที่ลอกออกได้เช่นนิตโต้
  • ที่ทับกระดาษ
  • หมึก
  • สี

เริ่มแรก ต้องทำแท่งม้วนกระดาษสำหรับใช้เป็นอุปกรณ์ในการโมะชะก่อน (ถ้ามีแท่งพลางติกก็ใช้ได้เลย)

nihonga18

คือแท่งกระดาษนี้เนี่ย พอดันไปเรื่อย ๆ มันจะค่อย ๆ เล็กลงและแข็งขึ้นค่ะ แข็งขนาดที่ตีเล่นกันได้ไม่หัก แต่ตอนดันก็ต้องออกแรงกดค่อนข้างเยอะ เป็นงานที่ใช้แรงแขนในระดับนึงเลยทีเดียว แถมยากอีกต่างหาก สุดท้ายเราทำได้แค่ครึ่งเดียวแล้วมันไม่ยอมเล็กลงต่อ ส่งให้อาจารย์ผู้ช่วยทำให้แทนค่ะ แหะ ๆ

พอได้อุปกรณ์ครบ เราจะจัดกระดาษตามนี้

nihonga19

◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆


วิธีคัดลอกเส้น

มาถึงขั้นตอนการวาด แรกสุดเลยเราต้องลอกตำแหน่งเส้นทุกเส้นในงานค่ะ

mosha1

กระดาษญี่ปุ่นที่ใช้ในงานโมะชะจะค่อนข้างบางทำให้มองเห็นภาพต้นฉบับด้านล่างได้ราง ๆ ให้ความรู้สึกเหมือนเวลาใช้โต๊ะไฟ เริ่มแรกเราก็ค่อย ๆ ลอกลายจากด้านบนลงมาโดยใช้หมึกวาดเอา เวลาลอกก็ม้วนกระดาษขึ้นบ่อย ๆ เพื่อเช็คภาพต้นฉบับด้านล่างให้แน่ใจว่าเรากำลังลอกเส้นแบบไหนอยู่ เรียกได้ว่าวาด 1 วิ ม้วนขึ้น 1 วิ สลับไปเรื่อย ๆ

mosha3
โต๊ะทำงานตอนยังอยู่แชร์เฮาส์ วางงานแล้วเต็มโต๊ะเลย

ผลคือ… ปวดไหล่มากกก ร่างแทบพัง เมื่อยยิ่งกว่าวาดการ์ตูนอีกค่ะ แต่ข้อมืออะไรแบบนี้ไม่มีปัญหานะ แต่ไหล่นี่พังจริง ทำแป๊บ ๆ ก็ต้องลุกขึ้นมาบิดตัวแล้วค่ะ

พอลอกลายด้วยหมึกจนครบแล้วก็จะได้ผลงานหน้าตาแบบนี้

mosha2

เป็นขั้นตอนที่ใช้เวลาไปหลายวัน ยิ่งภาพที่เลือกคราวนี้คือต้องจุดตามทุกจุด ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วมันเป็นจุดของผงทองเหลี่ยม ๆ ที่ศิลปินโปรยเอา เอาจริง ๆ ไม่รู้เหมือนกันว่าลอกแล้วได้อะไร

งานเรียนบางอย่างเราก็เข้าไม่ถึงค่ะ แหะ ๆ ตอนแรกที่มาเรียนไม่รู้ว่าจะต้องทำโมะชะด้วยซ้ำ นึกว่าจะได้วาดรูปอย่างเดียว แต่ได้โมะชะก็ดี จะได้มีความรู้ใหม่ ๆ ติดตัวเพิ่มขึ้น!

◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆


วิธีติดกระดาษด้านหลัง

พอลอกเส้นเรียบร้อยแล้ว เราก็ต้องติดกระดาษด้านหลังต้นฉบับที่เราวาด เพื่อทำให้กระดาษแข็งแรงขึ้น

วิธีติดกระดาษนี้เรียกว่าอุระอุจิ (裏打ち) งานวาดรูปที่ใช้กระดาษบางก็ต้องทำแบบนี้เหมือนกันค่ะ แต่ปกติแล้ว ถ้าไม่ได้ทำโมะชะเราและเพื่อนจะนิยมใช้กระดาษหนามากกว่า ลดความยุ่งยากในขั้นตอนนี้ไป แต่พอเป็นโมะชะ ถ้ากระดาษไม่บางเราก็ลอกลายไม่ได้ ขั้นตอนนี้เลยจำเป็นมาก ๆ ค่ะ

nihonga20
nihonga21

ขั้นตอนเยอะและยากมาก เราโชคดีได้รุ่นพี่ช่วย เพราะโดนอาจารย์ผู้ช่วยทิ้งไว้กลางทางตั้งแต่ขั้นตอนที่ต้องแปะกระดาษให้ติดกันโดยพยายามไม่ให้มีอากาศอยู่ด้านในนั่นแหละค่ะ คือกระดาษมันบางแล้วยับยู่ยี่ง่ายมาก (ยังมีข้อดีคือขาดยาก ยับเท่าไหร่ก็ไม่เป็นไร)

หลังจากที่กระดาษของเราแห้งดีแล้ว ก็ลอกออกมาจากแผ่นที่ยึดอยู่ และติดลงบนเฟรมที่จะใช้ค่ะ แน่นอนว่าเฟรมต้องรองกระดาษไว้แล้ว 1 ชั้นเหมือนเดิมเพื่อความเรียบเวลาลงสี วิธีติดกระดาษกับเฟรมเลยเล่าไปแล้วในเอนทรี่นี้ ใครยังไม่ได้อ่านเข้าไปอ่านกันได้นะคะ

◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆


ลงสีงานโมะชะ

ตอนลงสีเราต้องเทียบสีกับสีต้นฉบับจริงให้เหมือนกันสุด ๆ ปกติแล้วสีเวลาแห้งก็จะมีความเข้มเท่ากับสีผงตอนก่อนใช้พอดี เพราะฉะนั้นบางสีก็จะเทียบง่ายหน่อย แต่บางสีที่ต้องผสมก็ต้องกะ ๆ เอาด้วยค่ะ

mosha4

ตอนลงสีพื้นก็ลงแบบอ่อน ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มความเข้มขึ้นทีละนิดจนเท่ากับต้นฉบับจริง เพราะถ้าเราลงสีเข้มตั้งแต่แรกแล้วเกิดมันเข้มเกินไปขึ้นมา จะแก้ไขยากกว่า

พอสีพื้นแห้งก็ลงรายละเอียด แถมต้องมาวาดเส้นใหม่อีกรอบเพราะสีพื้นมันทับไป… เพราะฉะนั้น สำหรับงานนี้ เราก็ต้องมานั่งจุดด้วยหมึกใหม่อีกรอบค่ะ

giphy

คราวนี้เราถ่ายรูปต้นฉบับลงไอแพดแล้วเปิดเทียบข้าง ๆ เลย เพราะกลัวต้นฉบับเลอะ และมันซูมได้ง่ายดี เทคโนโลยีทำให้สะดวกขึ้นเยอะ

จากนั้นก็ลงสีให้เหมือนต้นฉบับจริง เก็บรายละเอียดทุกอย่าง โชคดีที่ภาพนี้สีไม่เยอะ เลยเป็นขั้นตอนที่เร็วที่สุดแล้วค่ะ

แต่การโมะชะยังไม่จบเท่านี้! เนื่องจากเราต้องลอกให้เหมือนทุกระเบียดนิ้ว ในต้นฉบับมีแปะทอง เราก็ต้องแปะ! จริง ๆ ก็ไม่เหมือนกับต้นฉบับเป๊ะเพราะในต้นฉบับนั้นน่าจะใช้วิธีโปรยแผ่นทองเอา แต่ของเราใช้พู่กันวาดตามแทนค่ะ

วิธีทำสีทองก็จะต่างจากการผสมสีปกติ แรกเลยคือต้องซื้อผงทองมา ไม่กี่กรัมแต่ราคาแพงหูฉี่ แต่เพราะเป็นโมะชะอาจารย์เลยบังคับให้ใช้ทุกอย่างเหมือนกับต้นฉบับจริง

nihonga22

แล้วเราก็จะได้สีทองที่ผสมน้ำแล้วใช้ได้เลย ไม่หลุดจากกระดาษ

mosha6

แล้วก็นำทองนั้นมาวาดลงบนต้นฉบับ

mosha7

เป็นอันเสร็จ!! ในที่สุด!!

mosha5.jpg

ห้ามถามเรานะว่าสวยตรงไหน เพราะยอมรับว่าเข้าไม่ถึงเหมือนกัน แต่อาจารย์ให้ทำก็ต้องทำ! นักเรียนที่ดี!

แต่ก็ได้เทคนิคไปใช้กับผลงานของตัวเองเพิ่มขึ้น ซึ่งก็ถือว่าดีที่ได้เรียนรู้ แต่ถ้าถามว่าอยากโมะชะอีกมั้ย ตอบเลยว่า

ไม่เอาแล้วค่ะ…

ปวดไหล่ปวดหลัง

MdFG6WhGF8Xio0Z0DxnHRsA1uMoTLQkX4tAWby_QcKwfMKA-URipL11CNi8BN1jaQVQwiIdaV_02izALaKFafqs4B98DAisn2cC1QBxYDasPotcx2l-C7-eoBcWTNtlthLFvtIG0o5NXvz1c1q0fPugnFjpz722rPFS-Z83Z21eS9Zvqtyc3fpH7KEHtOlGwr-LtFgNVxiDIGd06Vdd191hQikKpyBVxEkttu1y0bTCbQ_Z_yLg1Ij4GpgTjY2FSeW3aQaAEJhgB2Rnbjc2JGClxZMSz3bHYsapYbjMjhoET4tD5QMqbXWTrVDXpRcXwqZpW4Spge2_3_HUtIQY7XzqzDYZupmV0hdsVlqBObTpFicxyXdNiS99CinEeXlI_GQC9L0hNeST0ONhitbnI2bNC0nTfMAKxuwBJ7zfPNpHvZjWaWYdIYcsOf73f6DzwIZbChWQF9HJYO_7I4obDSDq_5SrIBB18jLuIvx1r5Gl6tUthgjprR-zsDIj5pmHh16MVM80ZXwlOwXQh94wIYtEE7jKE9TxAaWh2IFt9S8eFuAcXxFw6KUhzuhfYl_Fvpjxg7SOJHTXH4NutcOw6afXZ91VaLwWF9Pi1TCnFfIkB8j_4Qrx5zYiBvxuMDSI=w306-h320-no

◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆


สำหรับเอนทรี่นี้ก็จบเพียงเท่านี้ ขอบคุณที่ติดตาม

เจอกันใหม่เอนทรี่หน้า ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องอื่นนอกจากสีญี่ปุ่นบ้างแล้ว

สวัสดีค่า


Sticker ที่ใช้ในเอนทรี่ https://store.line.me/stickershop/author/12620
read more:

Be the first to leave a comment!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *