Chapters
Art

วิธีวาดรูปด้วยสีญี่ปุ่น Part 1

~ แนะนำสีและอุปกรณ์เบื้องต้น ~

สวัสดีค่ะ หมีหมอกค่ะ~

JW2GvTLjWS8RI-p_sw_yzCDszsu0geCJ7UpKcaSTekiQXiTwwOal0HV-qe_XtBAmzq9hPPqXI621QU_17OrXcS2fLXOPt-LJnGhhUIA9-EYSCYR_FANn_6m7OtOB_mn5CW48VrAs3NjmjiBhxieeFTpwSbaGyv3nzogKAYQJIMvYO7GezCNW_1hKWs-YJghToo_DNKnh01AKmlHyvDq4es-Xd-HCn1_qJvKo9zYQI7rgjBpvoskYuUjPvjjId1BPLnneAFr5Dx6vv1eby311FKOIfvauXmsdxzlB4P9skyCGSMrlBNWHb2chGkcnF6UDM5m1WES-reAcSHCgqVW4hd7MVhjFA3gc-S4eCMaIjjeWt6V76NVweZEpHFil9nTRJr2gfffV7_kImk1RUNIXvFcTH7J40Dul8e99jea2Iur-8ByKm-ztZ2oyvtIhX1W9xOMRaN1oIKnNxsoQD9FGkxzaT0lL7GjlUvfOgRIK1uD9xDd54nmsb49AsVw7cixsBOZPm_CgZy8lHmLBoJ3Wsr0dBbSzvTdkGLsFF43FTaC-J7ZlBu5G1ah3-bIlMnZ1ILgp9Eezp9m4pAv3sIa2NigZzrNXXKWk4mfEerSRi5X1ajuZH01jPx8ymCUCxA0=w302-h320-no

ตอนนี้เราเป็นนักศึกษาวิจัยอยู่ที่มหาวิทยาลัย Tokyo University of the Arts สาขา Japanese Painting ค่ะ ซึ่งจะเป็นสายไฟน์อาร์ตโดยตรง เน้นวาดรูปอย่างเดียวเลยค่ะ

นักศึกษาวิจัย หรือ Research student นั้นเป็นยังไงต้องทำอะไรบ้าง ขอตอบว่าน่าจะแล้วแต่มหาวิทยาลัยเลย แต่ส่วนใหญ่เด็กทุนที่มาเป็นนักศึกษาวิจัยนั้นจะคล้ายกับการเรียนเพื่อเตรียมตัวเพื่อสอบเข้าปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยนั้นอีกทีค่ะ เหมือนเข้าไปปรับตัวให้ชินกับการเรียนการสอน พอสอบเข้าปริญญาโทไปแล้วจะได้ตามเพื่อนญี่ปุ่นทัน

สำหรับคณะที่เราเข้าไปนั้น การเป็นนักศึกษาวิจัยเป็นเหมือนการทำความรู้จักกับสีญี่ปุ่นตั้งแต่พื้นฐานเลย และด้วยความที่เราไม่เคยใช้สีญี่ปุ่นมาก่อน ไม่รู้ว่า Japanese Painting คืออะไร เลยรู้สึกว่าดีแล้วที่ได้เป็นนักศึกษาวิจัยก่อน ไม่งั้นตอนสอบเข้าปริญญาโทไม่รู้เรื่องแน่นอน

ว่าแล้วมาเข้าเรื่องในเอนทรี่นี้กัน!

DNVtAF7wNXvkNh9HxhkSIQmm5gK_j33W2CE6eAt4rs2jljqdx28mwVcQcIUdr02KlpKZdMnCARL0Va3bDMXYRqFkgIigijd_ytYHgNOhIs_NphPSxU3E272JlSV1jLnWf41FKReDH18uPHpYCIX0NPYT6gsGtF0lf0DDFjnp6WpRSr_KUW8tDgCOKTSDcAG01hFT2SG8kQ0QJt8P31XUlMKXUME1e1x6wtzwq0_GpZcxqTyNaIKhxTXazkmYQe0DbztDuVeAE5SXLO9w6e0a8ReiWdCpl24gZrOIcP8SqHoAGApqMbPVRi-bK5HeJO14P4OdTgqhzaoY8t_lhhUwrDG2cnhgCZdp0ba9v4yyYMf4xNDbBkx4F9zy9drXZ1lZvzpSDdyDgeHNEriHqPAe4nQQvD4E047blMm38-ZeAuVIIPut8rEueZPtBhEDQWJcbYYD9W0OIKlfK5K7nHsFC-NGa7xq5jDOXxTfsjTJJG-7isJjEshBJTyzWMHmSjYI0cmuADVc-dsIiG7qF3RgpRZenKcrwIrb-rIkWbEi4naiOIM0Yl7njkegMPt8sFZw4ImtTN6Isl9iTF6w7JFsklgCulUb0AOQTPhLjKmwcLDEuqOayA1YXK3zX654AeM=w362-h320-no

ไหน ๆ ก็ได้เรียนอะไรแปลกใหม่แล้ว เราจะมาแนะนำ Japanese Painting ให้ทุกคนรู้จักด้วยค่ะ โดยจะย่อยข้อมูลเป็นหลายเอนทรี่ เน้นไปที่วิธีลงสีและใช้อุปกรณ์ เพราะฉะนั้นเอนทรี่แรกของซีรี่ส์นี้ เราก็จะมาแนะนำอุปกรณ์สีญี่ปุ่นให้ทุกคนได้รู้จักกันค่ะ

นี่เป็นการย่อยข้อมูลตามความเข้าใจของเรา ถ้ามีข้อผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

enogu1.jpg

ถ้าพูดถึง Japanese Painting ทุกคนคงนึกถึงภาพแนวญี่ปุ๊นญี่ปุ่นจ๋าเช่นภาพพิมพ์อุคิโยเอะ งานหมึก ภาพสาวงามสมัยก่อน อะไรประมาณนี้

nihonga0

แต่จริง ๆ แล้ว มันหมายความได้เยอะกว่านั้น คือจะเป็นภาพอะไรหรือแนวไหนก็ได้ ร่วมสมัย สมัยใหม่ แอบสแตรก หรือออกแนว อิลลัส ภาพประกอบ ได้หมด ขอแค่ใช้เทคนิคสีญี่ปุ่นที่มีมาช้านาน หรือสีที่เรียกว่า Iwaenogu นั่นเองค่ะ

enogu2

◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆


岩絵の具 สีญี่ปุ่นคืออะไร?

Iwaenogu หรือสีญี่ปุ่น คือสีที่ทำจากหินหรือแร่ธาตุ นำมาบดให้ละเอียดจนกลายเป็นผง สีที่ทำจากแร่หายากจะราคาแพงหูฉี่ แบบ 15กรัม 7000 เยน โชคดีที่สมัยนี้มีสีสังเคราะห์ที่ราคาถูกลงและสดใสมากขึ้น ตอนซื้อจะมาเป็นผง แล้วต้องนำไปผสมกับกาวเองทีหลัง แบ่งชนิดคร่าว ๆ ได้ตามนี้ค่ะ

nihonga1

1.天然岩絵具 Tennen Iwaenogu 

สีทำจากหินหรือแร่ธรรมชาติ นำมาบดละเอียด ส่วนใหญ่ไล่ความเข้มไปตั้งแต่เบอร์ 5-13 เบอร์ และจะมีเบอร์ที่เรียกว่าเบียคุหรือสีที่อ่อนและละเอียดที่สุดที่สุด สีที่เลขน้อยสุดจะมีความหยาบประมาณทรายและมีสีเข้ม ส่วนเลขเยอะจะคล้ายสีฝุ่นและมีสีอ่อน ราคาของสีขึ้นอยู่กับความหายากของแร่แต่ละชนิด

2.新岩絵具 Shin Iwaenogu

สีสังเคราะห์ทำเลียนแบบสีของแร่ธรรมชาติ แต่มีสีสันสดใสเยอะกว่า ทำจากแก้วหรือเซรามิค ไล่เลขตามสีที่ทำจากหินธรรมชาติเช่นกัน และมีราคาที่ต่างกันไปเช่นกัน บางสีก็แพงกว่าสีธรรมชาติ บางสีก็ถูกกว่าสีธรรมชาติ

enogu3-2

3.合成岩絵具 Gousei Iwaenogu

สีสังเคราะห์ที่ทำจากการใส่สีลงในหินที่ไม่มีสี (เช่นคริสตัล) มีสีสันสดใส แต่ไม่วิบวับเหมือนสีที่ทำจากหินธรรมชาติ ไม่ว่าสีไหนก็จะมีความหนักของพิกเมนต์เท่ากันหมด เลยผสมสีด้วยกันง่าย

4.水干絵具 Suihi enogu

สีราคาถูก เหมาะสำหรับลงพื้นที่ใหญ่ ๆ หรือลงเป็นสีพื้นเพราะมีความละเอียดสูง ไม่หยาบ คล้ายกับสีโปสเตอร์ สีส่วนใหญ่ทำจากการผสมสีเข้าไปในดินแล้วตากให้แห้ง หรือทำจากพืช/แมลง/เปลือกหอย

nihonga3

สี Suihi ค่อนข้างหยาบ ต้องบดในครกบดยาก่อนผสม

nihonga4

หรือใส่ในกระดาษไข แล้วพับครึ่ง แล้วเอาดินสอบด

nihonga5

5. 顔彩 Gansai

สีที่นำสี Suihi มาผสมกับกาว บรรจุลงถาดสี่เหลี่ยมเป็นบล็อก ๆ เวลาจะใช้ก็ผสมน้ำแล้วลงได้เลย แต่สีจะไม่กันน้ำมาก สีที่ได้จะโปร่งแสงระดับหนึ่งแต่ไม่เท่าสีน้ำ สามารถผสมกาวนิคาวะเพิ่มเพื่อให้สีหลุดยากขึ้นได้ เหมาะสำหรับลงบนกระดาษญี่ปุ่น เพราะสีน้ำปกติจะไม่เกาะกระดาษญี่ปุ่นเท่าไหร่

nihonga2

สีที่แพง ๆ ส่วนใหญ่ที่เราเจอคือโทนแดง ม่วง น้ำเงิน ค่ะ แพงมากกกกก ขนาดเป็นสีสังเคราะห์ยังแพงเลยค่ะ และอีกปัญหาที่เจอคือเวลาอยากใช้สีเข้มแต่ละเอียด ๆ ซึ่งมันไม่มี! ก็ต้องใช้สีหยาบที่ลงยากกว่ากันไป

◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆


กาวจากหนังสัตว์

สีมาเป็นผงแล้วใช้ยังไง?

ก็ต้องนำไปผสมกับกาวเองค่ะ… แฮนเมดมาก ๆ

enogu3

ตามวิธีดั้งเดิมแล้ว เราจะต้องนำผงสีมาผสมกับกาวที่เรียกว่านิคาวะ

enogu2-2

นิคาวะที่ว่านี้จะสกัดได้มาจากหนังหรือกระดูกสัตว์เช่นหนังวัว กวาง มีลักษณะเป็นเจลาติน ถูกนำมาทำให้แห้งเพื่อที่จะเก็บรักษาได้นาน

nihonga6

วิธีใช้คือผสมกับน้ำด้วยอัตราส่วนนิคาวะ 10g ต่อน้ำ 100cc แล้วก็ต้มให้ละลาย บ้างบอกว่าอย่าให้ความร้อนเกิน 60 องศาไม่งั้นกาวจะเสื่อมลง แต่เพื่อนบอกว่าวิจัยสมัยนี้ได้ยืนยันแล้วว่าไม่ส่งผล

nihonga7

กาวพวกนี้พอผสมน้ำแล้วจะเน่าเร็วมากเพราะไม่ใส่สารกันบูด (แล้วแต่ชนิดและยี่ห้อของกาวด้วย บางยี่ห้อก็ใส่) เพราะฉะนั้นเวลาเหลือก็ต้องเก็บไว้ในตู้เย็น ไม่งั้นมันจะเริ่มเน่าแล้วส่งกลิ่นเหมือนผ้าขี้ริ้ว

ถ้าหน้าหนาวปัญหานี้จะหมดไป แต่จะมีปัญหาใหม่ตามมาคือกาวจะแข็งตัวเป็นวุ้นเจลาตินเร็วมาก ต้องหมั่นนำไปวางบนเตาไฟฟ้าเพื่อให้ละลายค่ะ

nihonga8

สมัยใหม่ก็จะมี Aqua Glue ให้ใช้ เป็นกาวน้ำไว้ผสมกับสี หรือนิคาวะที่เป็นน้ำแล้ว(มีสารกันบูดในตัว) แต่ทุกคนก็ยังนิยมใช้นิคาวะตามรูปแบบดั้งเดิมอยู่ดี

◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆


絵の具作り วิธีผสมสี

nihonga9
enogu5
สีเขียวที่ผสมกับนิคาวะ

ส่วนสีขาวก็มีวิธีที่พิเศษอีกหน่อย

nihonga10
enogu4
สีขาวตอนนวดให้เข้ากับน้ำ

สีที่ได้จะออกมาทึบแสง เวลาเปียกกับแห้งจะสีไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นต้องจำสีตอนที่ยังแห้งเป็นผงไว้ค่ะ ตอนเปียกสีจะโปร่งแสง แต่พอแห้งก็จะทึบขึ้นมา ทำให้กะยากมาก ๆ เราจะอธิบายเพิ่มเติมในเอนทรี่หน้าตอนสาธิตการลงสีนะคะ

สีญี่ปุ่นนั้นสามารถลงทับกันได้หลายชั้น และล้างออกได้ด้วยการใช้แปรงหมาดหรือผ้าหมาดเช็ด

และปกติแล้ว เวลาลงจะไม่ผสมสีเข้าด้วยกัน แต่จะใช้ทีละสีแยกออกจากกัน (แต่เราก็เผลอผสมนิด ๆ หน่อย ๆบ่อย ๆ)

ส่วนกระดาษที่ใช้วาดรูปนั้น สามารถใช้ได้หลายอย่าง มีทั้งกระดาษญี่ปุ่น (หน้าตาเหมือนกระดาษสา) ผ้าไหม ไม้ ซึ่งก่อนลง เราต้องทำการเคลือบกระดาษไม่ให้สีมันซึมเข้าไปในกระดาษมากจนเกินไปและทำให้กระดาษแข็งแรงขึ้น

nihonga11

ใช่แล้วค่ะ กว่าจะได้เริ่มวาดรูปนั้น ขั้นตอนมันเยอะมาก บางวันเราเตรียมสีอยู่หนึ่งชั่วโมง แต่วาดแค่สิบห้านาที ก็ต้องรอแห้งอีกเป็นชั่วโมง คือกลับบ้านแล้วรอไปทำต่อวันถัดไปเลย แหะ ๆ

นอกจากนี้ ก็ยังมีอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น แผ่นทองคำเปลว ผงทอง ผงเงิน สามารถสร้างสรรค์เทคนิคได้อีกมากมายเลยค่ะ ซึ่งเราก็ต้องค่อย ๆ เรียนรู้กันไป

enogu6.jpg

สำหรับเอนทรี่แนะนำอุปกรณ์เบื้องต้นก็จะจบเพียงเท่านี้

เอนทรี่หน้าเราจะมาพูดถึงวิธีขึงกระดาษกับเฟรม และขั้นตอนในการวาดรูปเบื้องต้นค่ะ

ขอบคุณทุกคนที่ติดตาม เจอกันนะคะ!

giphy

Sticker ที่ใช้ในเอนทรี่ https://store.line.me/stickershop/author/12620
read more:

Be the first to leave a comment!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *